Smart City คืออะไร ? เมืองน่าอยู่จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย 

Smartcity

จากความทันสมัยของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้านเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆ กลายเป็นเมืองที่ทันสมัย น่าอยู่ มีความสะดวกสบายจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี และนั้นคือที่มาของคำว่า “Smart City

สารบัญ

Smart city คืออะไร ?

Smart city คือ เมืองน่าอยู่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง โดยเน้นการออกแบบที่ดีให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิตัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร มาเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลดต้นทุน ลดการใช้ทรัพยากร จนเกิดเป็นมิติใหม่สำหรับคนเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน

Smart city คือ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง : https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan

Smart city Thailand

สำหรับ สมาร์ทซิตี้ ประเทศไทย (Smart city Thailand) ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ ได้มีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในมิติต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ การเป็นเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ตลอดจนส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีการจัดมหกรรมแสดงเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ในงาน Thailand Smart City Week ในรูปแบบ Hybrid Event ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสและเข้าถึงวิถีชีวิตในเมืองอัจฉริยะผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้จากทั่วทุกภูมิภาค ในปี 2020 ที่ผ่านมา ตอบรับชีวิตวิถีใหม่ (นิวนอร์มอล) ซึ่งประกอบด้วยโซนกิจกรรมหลัก ดังนี้

จุดจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Smart City PLAYs ) เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัส

ประสบการณ์การใช้งาน พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิต โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำนวัตกรรมมาสร้างสรรค์คุณค่าร่วมแก่ชุมชนและสังคม โดยชูแนวคิดการยกระดับคุณภาพชีวิตเคียงคู่ธุรกิจ เพื่อการใช้ชีวิตที่ดีและยั่งยืน 

กิจกรรมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Smart City LEARNs) เป็น กิจกรรมแบ่งปัน

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเมืองด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญรวม 24 เซสชัน ผ่านการสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาต่อยอดการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ 

กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมค้นหาแนวทางและโซลูชัน (Smart City HACKs ) เพื่อ

แก้ไขปัญหาของประเทศผ่านการทำเวิร์คชอป โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาที่มาร่วมให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ เพื่อให้เกิด 12 โซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างตรงจุด และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป

การจัดแสดงนิทรรศการ (Smart City MEETs) เป็นการจัดแสดงนิทรรศการจากผู้ประกอบการ

กว่า 50 รายเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้สัมผัสกับเทคโนโลยีด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะครั้งแรกจากทั่วทุกภูมิภาค พร้อมสร้างโอกาสในการเจรจาจับคู่ธุรกิจผ่านระบบสนทนาแบบเรียลไทม์


Smart city มีอะไรบ้าง ?

Smart city หรือเมืองอัจฉริยะ คือเมืองน่าอยู่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ในการสร้างเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น จำเป็นจะต้องมีเทคโนโลยีสำคัญ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

smart city คือ

1. สมาร์ทกริด (Smart Grid) หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นการนำเทคโนโลยี

หลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบเซนเซอร์และการควบคุมอัตโนมัติเพื่อให้ระบบไฟฟ้ากำลังสามารถรับรู้ข้อมูลสถานะต่าง ๆ ในระบบได้แบบ Real Time รวมถึงระบบสารสนเทศ และระบบการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้โครงข่ายไฟฟ้าสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง 

2. อาคารอัจฉริยะ (Smart Building) อาคารต้องเป็นมากกว่าโครงสร้างผนังและหลังคา

สามารถมอบความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้มากขึ้น ดังนั้น อาคารจะต้องมีระบบอัจฉริยะที่ทำให้อาคารสามารถตอบสนองต่อความต้องการผู้อยู่อาศัยได้ สามารถเรียนรู้ ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และที่สำคัญคือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3. ระบบไอซีทีอัจฉริยะ (Smart ICT : Smart Information and Communication Technology)

ปีนี้อุปกรณ์มากกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ และ 1 ใน 5 ของอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกใช้อยู่ภายในอาคาร นั่นหมายความว่า ข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลจะถูกสร้างขึ้น หัวใจสำคัญคือเราจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้และวิเคราะห์ได้อย่างไร จึงจะทำให้เมืองมีความยืดหยุ่นในการบริหาร ในขณะเดียวกัน ยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับชุมชนและระดับบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เมืองอัจฉริยะจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทั้ง 3ส่วนนี้ทำงานผสานกัน


หลักการพัฒนา Smart city 7 ด้าน

สมาร์ตซิตี หรือเมืองอัจฉริยะ มีการพัฒนาในหลายภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานราชการ การจราจรและขนส่ง พลังงาน สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการจัดการเมืองและชุมชน และการตอบสนองแบบทันท่วงที แบ่งเป็น 7 ประเภทหลักๆ ได้แก่

smart city คืออะไร

1. Smart Environment : สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

และสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเฝ้าระวังภัยพิบัติ  การดูแลสภาพอากาศ จัดการของเสีย และการจัดการน้ำ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

2. Smart Economy : หรือเศรษฐกิจอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มใน

ระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยพบเห็นได้ในหลาย ๆ ด้าน เช่น เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ หรือเมืองเกษตรอัจฉริยะ 

3. Smart Energy : พลังงานอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการบริหารจัดการด้านพลังงานได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ สร้างความสมดุล ระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก

4. Smart Governance : การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการพัฒนาระบบบริการภาครัฐ

หรือบริหารนโยบายสาธารณะ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐอย่างมีคุณภาพ โดยมุ่งเน้น ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น นวัตกรรมบริการที่ทันสมัย

smart city คืออะไร

5. Smart Living : การดำรงชีวิตอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกโดย

คำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์  ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีความสุขในการดำรงชีวิต

6. Smart Mobility : การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ หมายถึง การบริหารที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบ

จราจรและขนส่งอัจฉริยะเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่งและการสัญจรที่หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

7. Smart People : พลเมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อม ที่

เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนเปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน


Smart City คืออะไร ? เมืองน่าอยู่จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย 

8 องค์ประกอบ การขับเคลื่อนให้เป็นเมืองอัจฉริยะ Smart City ประจำปี 2022

สำหรับวันนี้ ทางเราเว็บไซต์ Thechapt ก็ได้โอกาสดีๆจาก ผู้ที่เชี่ยวชาญด้าน Smart City นั้นก็คือ คุณ ชาญณรงค์ ลีลาบูรณพงศ์ (รองหัวหน้าคณะทำงานกระบี่เมืองอัจฉริยะ) ให้เกียรติแบ่งปันข้อมูลความรู้ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาจริงๆ ฉบับอัพเดท ปี 2565 ดังนี้

1. พัฒนาเมืองเดิมให้น่าอยู่

ปรับปรุงซ่อมแซมระบบโครงสร้างพื้นฐานดี ระบบสาธารณูปโภคดี การคมนาคมดีตามคุณลักษณะประโยชน์พื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างสะดวกก่อน การให้เทคโนโลยีเข้าถึงก่อนจะไม่มีประโยชน์ เช่นมีแอปพลิเคชั่นนำทาง แต่ถนนหนทางที่ไปไม่มีความสะดวก ถนนลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่อ การติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ไม่มีการดูแลรักษาต่อเนื่องชำรุดใช้ไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแจ้งเหตุแต่คนใช้ไม่เป็น หรือระบบศูนย์ควบคุมปลายทางไม่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการไม่ได้อย่างทันท่วงที ไม่มีการบูรณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่มีประโยชน์อะไร

2. ทำเมืองใหม่ให้ทันสมัย

ออกแบบแนวคิดเพิ่มความสมาร์ทให้เมือง โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณสูง ไม่ต้องรองบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐอื่นหรือของเอกชน การบริหารงบประมาณภายในก็สามารถทำให้เมืองสมาร์ทได้ เพราะหัวใจของการทำให้เมืองสมาร์ทได้ พื้นฐานคือความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะดวกสบาย ประขาชนเข้าถึงการบริการสาธารณะได้ง่าย การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นรู้ การให้ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของปัญหา และกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุด

3. ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ

มากกว่าการสร้างคุณค่าสร้างความทันสมัย เพราะความเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเสมอไป เทคโนโลยีถือเป็นส่วนประกอบในการเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ความเชื่อถือ การใช้เทคโนโลยีสูง และมีขั้นตอนการเข้าถึงยาก ประชาชนบางกลุ่มอาจใช้ไม่เป็น ต้องพัฒนาคนควบคู่กับเทคโนโลยี

4. การพัฒนาจากเล็กไปใหญ่

โดยกำหนดโซนพื้นที่ให้เป็นต้นแบบนำร่อง นอกจากเป็นการเพิ่มความสมาร์ทให้พื้นที่แล้ว เป็นการสร้างจิตสำนึก สร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน เช่นการกำหนดให้สวนสาธารณะ,ย่านการค้า หรือจุดแลนด์มาร์คของเมือง เป็นโซนพื้นที่ปลอดภัย โซนสุขภาวะ เป็นพื้นที่สร้างวินัย การดูแลจัดการขยะ วินัยจราจร การใช้พื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการ ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจที่มีอุปกรณ์ที่ครบครัน โดยสามารถต่อยอดขยายไปในวงกว้างให้ครอบคลุมเมืองตามลำดับได้ในอนาคต

5. การพัฒนาเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของเทคโนโลยีอย่างเดียว

แต่เป็นเรื่องของประชาชน สร้างองค์ความรู้ สร้างความเชื่อมั่น ความรวดเร็ว สร้างความน่าเชื่อถือ เชื่อใจ ทำจริงได้ผลจริง เพราะหากประชาชนไม่เชื่อใจก็ไม่สามารถพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนได้

6. การพัฒนาให้เป็นเมือง Smart City

นอกจากทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย มีความสะดวกสบายแล้ว สิ่งสำคัญต้องเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การสร้างอาชีพและรายได้ให้ประชาชน เพราะจะให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น และให้ความร่วมมือในทุกมิติ

7. เริ่มต้นที่ใช้คนนำเทคโนโลยี

ไม่ใช่ใช้เทคโนโลยีนำคน เน้นคุณค่าไม่ใช่แค่ประสิทธิภาพ หรือรูปแบบที่ทันสมัย

8. การจินตนาการเป็นจริงไม่ได้หากปราศจากข้อมูลเชิงลึก

วิเคราะห์ให้ครอบคลุมในทุกมิติ การกำหนดแนวทาง ระยะสั้น กลาง ยาว และต่อเนื่อง

ขอขอบคุณ

นายชาญณรงค์ ลีลาบูรณพงศ์
รองนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่/รองหัวหน้าคณะทำงานกระบี่เมืองอัจฉริยะ

แหล่งข้อมูลอื่นๆ :

https://siamrath.co.th
https://www.scb.co.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

บันทึก