วิธีการสังเกตเบื้องต้น
เมื่อคลำตรงบริเวณที่มีอาการปวด จะพบว่า กล้ามเนื้อจะมีลักษณะเกร็งเป็นลำ และตึงตัวแข็งขึ้น (Taut band) และเมื่อใช้แรงกดลงไป จะพบก้อนแข็งเสมือนปมกล้ามเนื้อที่ดิ้นได้ เราเรียกจุดดังกล่าวว่า จุดกดเจ็บ หรือ Trigger point นั้นเอง
อาการปวดกล้ามเนื้อ
ต้องยอมรับว่า อาการ ปวดคอ บ่า ไหล่ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยไปแล้ว และ พบจำนวนมากขึ้นตั้งแต่ช่วงยุค Work From Home และ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เหล่านี้เรียกว่า Myofascial pain syndromes (MPS)
ลักษณะเฉพาะของ จุดกดเจ็บ
- เมื่อกดลงไป จะมีอาการปวดหน่วงแบบตื้อ (Dull aching pain)
- อาการปวดจะสามารถร้าวไปบริเวณกล้ามเนื้อมัดข้างเคียงร่วมได้ (Refer Pain)
- ปม Trigger Point จะไปขัดการเดินทางของเลือด ในการนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้น้อยลง
สาเหตุที่ทำให้เกิด จุดกดเจ็บ
- มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการใช้งานซ้ำๆ
- อยู่ในท่าทางใด ท่าทางหนึ่ง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน (มากกว่า1ชั่วโมง) เช่น การใช้สมาร์ทโฟน และ การนั่งจ้องหน้าคอม เป็นต้น
- ลักษณะโครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ เช่น หลังค่อม , กระดูกสันหลังคด เป็นต้น
- ท่าทาง สิ่งแวดล้อม อุปกรณ์สำนักงาน ที่ไม่เหมาะในการทำงาน
- สภาวะเครียด
การดูแลรักษาทาง กายภาพบำบัด
- ใช้คลื่นกระแทก (Shock Wave) เพื่อคลายจุดกดเจ็บออก (Trigger point)
- ทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อลดการอักเสบและกระตุ้นการซ่อมแซมกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น
- ประคบร้อน ประคบเย็น
- ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปรับท่าทางให้ถูกต้องตามโครงสร้างร่างกาย
Special Thank :
กภ.จิราภา มณีรัตน์
– อาจารย์พิเศษ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– นักกายภาพบำบัดประจำ : กีฬากาบัดดี้ทีมชาติไทย
– เจ้าของ : จิราภาคลินิกกายภาพบำบัด
Source : triggerpoints.net
1 Comment
Comments are closed.